ฮวงจุ้ย โป๊ยข่วย ปากัว ปากั้ว

ฮวงจุ้ย โป๊ยข่วย ปากัว ปากั้ว

ชื่อของโป๊ยข่วย

สิ่งหนึ่งที่ทุกคนที่รู้จัก ฮวงจุ้ย ถึงแม้จะเคยเรียนหรือไม่เคยเรียนฮวงจุ้ยมาก่อน เมื่อเห็นสัญญลักษณ์แล้วจะทราบทันทีว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับฮวงจุ้ย คือ สัญญลักษณ์ทั้งแปดของ โป๊ยข่วย ที่นำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นผังพลังงาน

การเรียกคำสรรพนามของ โป๊ยข่วย ในเมืองไทยนั้นมีหลายแบบ เช่น ปากัว ปากั้ว โป๊ยข่วย

คำว่า ปา หรือ ป้า หรือ โป๊ย แปลว่า แปด

คำว่า กว้า หรือ กั้ว หรือ ข่วย นั้นเป็นสัญญลักษณ์เฉพาะตัวของการเรียงเส้นอิมเอี้ยงในแนวตั้ง

สัญญลักษณ์

สัญญลักษณ์ของ โป๊ยข่วย นั้น เกิดจากการนำเส้นอิม และเส้นเอี้ยง มาเรียงกันในแนวตั้ง จำนวน 3 ชั้น เกิดสัญญลักษณ์ที่แตกต่างกันจำนวน 8 แบบ

หลักการคิดแบบคำนวณ คือ อิมเอี้ยง เท่ากับ 2 นำมาจับคู่เรียงกันสามชั้นเท่ากับคูณกันสามครั้ง คือ 2 X 2 X 2 = 8

taiji.jpg

การกำเนิด

จากรูปเป็น แผนภูมิ ของการกำเนิดโป๊ยข่วย

  • แต่เดิมนั้นสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า
  • ความเปลี่ยนแปลงแปรผันเป็นกฏแห่งธรรมชาติ จากความว่างเปล่าก่อเกิดสภาพแห่งการมี ซึ่งภายในเป็นองค์ประกอบของ อิม เอี้ยง หรือ หยิน หยาง รวมกันอยู่ เป็นสิ่งที่เราเรียกกันว่า ไท่จี๋
  • จากความมี แบ่งออกเป็น 2 สภาพ คือ อิม เอี้ยง หรือ หยิน หยาง โดยอิมแทนด้วยเส้นขาด และ เอี้ยงแทนด้วยเส้นเต็ม
  • ในสภาพอิมยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และสภาพอี้ยงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน รวมเป็น 4 ส่วน หรือ อาจเทียบได้กับ 4ฤดูกาลบนโลก คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน ฤดูใบไม้ผลิ
  • จาก 4 ส่วน ยังแบ่งย่อยของสภาพอิมเอี้ยงออกมารวมกันได้ 8 ส่วน กลายเป็น โป๊ยข่วย หรือ ปากั้ว หรือเทียบกับ 8ทิศทาง ที่คนทั่วโลกจำนวนมากคุ้นเคยกันดีว่าเป็นสัญญลักษณ์เกี่ยวเนื่องกับฮวงจุ้ย

โดยกำหนดชื่อเรียกของ ข่วย หรือ กั้ว แต่ละอันแตกต่างกันไป มี ข่วยเคี้ยง ข่วยต๋วย ข่วยลี้ ข่วยจิ้ง ข่วยสุ่ง ข่วยคั่ม ข่วยกึ่ง ข่วยคุง

การเรียงสัญญลักษณ์

การนำสัญญลักษณ์ของข่วยทั้งแปด มาจัดเรียงกันในรูปแบบของผังพลังงานนั้น จะมีผังพื้นฐาน 2 ผังพลังงาน คือ ผังก่อนฟ้า และ ผังหลังฟ้า

การใช้งาน

ความจริงแล้ว โป๊ยข่วย ได้ถูกออกแบบมาเป็นผังช่วยจำ ผังที่เกี่ยวกับพลังงานในด้านฮวงจุ้ย เหมือนการที่เราดูแผนที่ ไม่ได้มีประโยชน์หลักหรือไม่ได้ใช้เป็นหลักใน การแก้ไขฮวงจุ้ย หรือ การปรับสภาพฮวงจุ้ย ดังที่บุคคลส่วนใหญ่เข้าใจและนิยมใช้กันทั่วไป

Comments

เคยได้ยินว่าอิมจะเกี่ยวโยงกับด้านมืด ความดำ ส่วนเอี๊ยงจะเป็นด้านสว่าง ด้านขาว แต่เห็นในรูปด้านบนที่แสดงการแบ่งโป๊ยข่วยโยงอิมด้านสีขาวและเอี๊ยงด้านสีดำ จึงเกิดความสงสัยครับ รบกวนอาจาร์ยช่วยอธิบายหน่อยครับ ขอบคุณ

ขอบคุณครับ คุณจารุพงศ์ มีความละเอียดละออดี วงกลม อิม เอี้ยง โดยปกติจะมี 2 ลักษณะ โดยสังเกตุจากทิศทางการเคลื่อน คือ วนซ้าย และ วนขวา ซึ่งแต่ละอย่าง สามารถจะให้คำอธิบายประกอบที่แตกต่างกัน ในกรณีที่ วนไปทางเดียวกัน แต่ตั้งภาพ ต่างองศากัน ถือว่าเป็นอันเดียวกัน เพียงแค่หมุนเปลี่ยนองศาเท่านั้น แต่เพื่อให้สื่อความหมายได้ดียิ่งขึ้น เอาไว้ผมมีเวลาว่าง จะทำรูปให้ใหม่ตามมุมมองที่คุณถามมาครับ

อยากรู้ความหมายของม้นคับ