อื้จิง ดีเอ็นเอ ถอดรหัสพันธุกรรม

อี้จิง ดีเอ็นเอ

ประมาณสามปีก่อน ผมเคยเขียนชุดบทความเป็นอีบุคแจกฟรี ชื่อ อี้จิง ดีเอ็นเอ รหัส พันธุกรรม 64 ข่วย โดยนำหลักการของอภิปรัชญาจีน อี้จิง มาเทียบกับหลักการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ด้านพันธุกรรม ดีเอ็นเอ DNA  ... เดิมจะเขียนต่อ ภาค 2 episode 2 อธิบายในเชิงของ ฮวงจุ้ย 64 ข่วย เทียบกับ รหัสพันธุกรรม ดีเอ็นเอ DNA แต่ก็ยังไม่มีเวลาเขียนออกมาให้อ่านกัน ... ถึงจะผ่านมา 3 ปี แต่เนื้อหาของ อี้จิง ดีเอ็นเอ ก็ยังมีความทันสมัยไม่เสื่อมคลาย ผมจึงคิดว่าจะนำมาเขียนบทความให้ผู้ชมได้อ่านง่ายขึ้น ( ส่วน episode 2 ยังไม่มีเวลาเขียน แต่อาจอธิบายประกอบในช่วงการสอน ฮวงจุ้ย 64ข่วย ที่ G.M. Academy )

เรามาทำความรู้จักกับชื่อ ดีเอ็นเอ กันสักนิดว่า มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง

ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นตัวย่อคําภาษาอังกฤษของสารหรือโมเลกุลที่ชื่อว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก deoxyribonucleic acid โดยเอาตัว d (deoxyribo) n (nucleic) และ a (acid) มารวมกันเข้าเป็น D-N-A

ดีเอ็นเอ เป็นสารสําคัญที่ต้องมีในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด (ยกเว้นไวรัสบางชนิด) เพราะ มันทําหน้าที่เป็น สารพันธุกรรมที่เป็นตัวเก็บข้อมูลเพื่อเป็นตัวกําหนดคุณลักษณะทุกๆด้านของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ และยังมีหน้าที่ในการถ่ายทอดคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งด้วย ตัวอย่างเช่นในผลมะม่วงนั้นจะมี ดีเอ็นเออยู่ในเมล็ดซึ่งเมื่อเมล็ดนี้อยู่ในสภาพที่จะเจริญงอกงามออกเป็นต้นต่อไปได้ สาร ดีเอ็นเอที่อยู่ในเมล็ดนี้แหละที่มีหน้าที่สําคัญในการที่จะกําหนดว่าต้นที่จะเกิดขึ้นจากเมล็ดมะม่วงคือต้นมะม่วง และจะเป็นต้นส้มหรือต้นอื่นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับดีเอ็นเอที่อยู่ในเมล็ดส้มก็จะเป็นตัวกําหนดว่าต้นที่เกิดจากต้นส้มจะต้องโตไปเป็นต้นส้มเท่านั้น

ผู้ที่ริเริ่มการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และคิดค้นกฎพื้นฐานของการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ ซึ่งถือว่าเป็นบิดาของวิชาพันธุศาสตร์สมัยใหม่นี้คือ หลวงพ่อชาวออสเตรีย ชื่อ เกรกเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) ซึ่งได้ตีพิมพ์ผลงานเมื่อปี ค.ศ. 1865 ในการประชุมวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เมือง Brunn สาธารณรัฐ เชคในปัจจุบัน แต่ผลงานของเขากลับไม่ได้รับความสนใจจนกระทั่ง เป็นเวลา 16 ปีหลังจากที่เขาได้ตายไปแล้วในปี จนถึงปีค.ศ. 1900 ผลงานของเขาจึงได้ถูกนํามารื้อฟื้นใหม่ และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิทยาศาสตร์พันธุศาสตร์โดยนักวิทยาศาสตร์หลายยุคจนมาถึงปัจจุบัน

ในวงการวิทยาศาสตร์ - ดีเอ็นเอ กลายมาเป็นที่สนใจในวงกว้างมากขึ้นเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้วมานี่เอง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านคือ เจมส์ วัตสัน และ ฟรานซิส คริก ได้ประกาศการค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอว่าเป็นสายคู่ที่บิดพับเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียนแบบที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix) ในวารสารวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงฉบับหนึ่งคือ Nature เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2496
 

โครงสร้างของ ดีเอ็นเอ DNA

โครงสร้างของ dna

โครงสร้างของ DNA เป็นสาย polynucleotide 2 สายมาพันกันเป็นเกลียวในทิศตามเข็มนาฬิกา ตาม รูปแบบจำลองของ วัตสันและคริก มีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 2 nm (นาโนเมตร) คู่ baseจะอยู่ห่างกันประมาณ 0.34 nm ดังนั้น 1 รอบของการหมุน 360 องศา มีความยาว 3.4 nm มีจำนวน 10 คู่

องค์ประกอบของ ดีเอ็นเอ DNA

อี้จิง ดีเอ็นเอ

DNA ประกอบด้วยน้ำตาล (deoxyribose) + กลุ่มฟอสเฟต (phosphoric acid residue) + เบส 4 ชนิด
เบส 4 ชนิดนั้น คือ Adenine, Thymine, Guanine, Cytosine หรือ เรียกย่อ A, T ,G, C. ซึ่งเบสทั้ง 4 ชนิดนี้จะเป็นส่วนหลักที่เราจะนำมาพิจารณาเกี่ยวกับความแตกต่างของดีเอ็นเอแต่ละชนิด

เบสทั้ง 4 นี้จะมีการจะมีการจับคู่กันด้วยพันธะเคมี ที่เรียกว่า พันธะไฮโดรเจน

Base ของทั้ง 2 สาย polynocleotide จะยึดกันด้วย H-bond และจับคู่กันอย่างเฉพาะเจาะจง โดยมีเงื่อนไข คือ
A จับกับ T ด้วย 2 H-bond ( พันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ)
G จับกับ C ด้วย 3 H-bond ( พันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ)
 

เมื่อเรารู้จัก ดีเอ็นเอ พอสมควรแล้ว จากนั้นเราจะมาเริ่มเนื้อหาของอี้จิง และนำมาเปรียบเทียบกันกับดีเอ็นเอในบทความต่อๆไป