เช็งเม้ง ทิศปลอดภัย 2550

เช็งเม้ง ทิศทางปลอดภัย 2550 ในช่วงนี้สมาชิกหลายๆคนแวะเข้ามาในเว็บ และใช้คำค้นหาว่า '''เช็งเม้ง''' เพื่อหาข้อมูลในเว็บ บางท่านได้เขียนขอ ฤกษ์ดี สำหรับไปเช็งเม้ง ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องของส่วนรวมที่น่าสนับสนุน จึงเขียนเกี่ยวกับทิศทางปลอดภัย สำหรับวันเสาร์-อาทิตย์ ในช่วงเทศกาล ปี 2550 ขึ้นมา 4 วัน ... แต่ลังเลอยู่หลายวันว่า ควรจะนำบทความขึ้นเว็บหรือไม่ เพราะเกรงจะสร้างกระแสความขัดแย้งในครอบครัว ว่าควรจุดประทัด หรือ ไม่ควรจุดประทัด ในเทศกาลเช็งเม้ง เนื่องจากหัวใจของเทศกาลคือ ความกตัญญู และ ความสามัคคี ในครอบครัว ซึ่งเราควรถือเป็นหลักและช่วยกันดำรงไว้ ... สุดท้ายคิดว่าบทความนี้อาจจะพอมีประโยชน์บ้างสำหรับบางท่านที่กำลังเล็งหาทิศทางปลอดภัย

ยึดถือกันว่า เช็งเม็ง เป็นวันไหว้บรรพบุรุษที่สำคัญเหมือนวัน ? จ๊อขี่ ? (วันตาย) ที่ลูกหลานแสดงความกตัญญู ที่จะต้องไหว้บรรพบุรุษ เมื่อไหว้แล้วเชื่อว่าส่งผลดีจะมีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต ซึ่งเช็งเม้งนอกจากจะไหว้ที่บ้านแล้วยังต้องไป ? ก๊วยจั๊ว ? คือไปไหว้ที่สุสาน

ฮวงจุ้ย พิธีกรรม ความเชื่อ
----

เมื่อเกี่ยวเนื่องกับสุสาน จะเริ่มเกี่ยวเนื่องกับ ฮวงจุ้ย + พิธีกรรม + ความเชื่อ

หากเราไปถามข้อแนะนำจากซินแส สิ่งหนึ่งที่หลายๆท่านจะแนะนำคล้ายๆกัน จะมี 2 ประการ คือ

* อย่านำสิ่งของไปตั้งบน แท่นหิน(คล้ายที่นั่ง) ที่หน้าป้ายสุสาน ( เกี่ยวกับความเชื่อ ด้านวิญญาณ และ ใกล้จุดสำคัญด้านฮวงจุ้ย)

* อย่าจุดประทัด ในทิศของ ส่วยผัวะ ( ทิศแตก) ซาสัวะ (ทิศอสูร) เบญจภูติ (โหงวอึ้ง) ( เกี่ยวกับ ฮวงจุ้ย )

ข้อแรก เห็นแล้ว ก็สบายๆ ในครอบครัวสามารถยอมรับกันได้

พอข้อที่สอง ชักเริ่มลำบาก

* ซินแสบางท่านก็จะแนะนำ ทิศต้องห้าม ประจำปีของ ส่วยผัวะ ( ทิศแตก) ซาสัวะ (ทิศอสูร) เบญจภูติ (โหงวอึ้ง) ห้ามจุดประทัด และ บอกทิศที่ดีในปีนั้นให้ไปจุดประทัด แล้วกล่าวว่าจะโชคดีทั้งครอบครัว

* ซินแสบางท่าน ก็จะแนะนำว่า ไม่ต้องจุดประทัด เพราะไม่มีในตำรา

* ซินแสบางท่าน ก็จะแนะนำว่า ไม่ต้องจุดประทัด เพราะทิศร้ายนั้นนอกจากทิศประจำปี ยังมีทิศประจำเดือน ประจำวัน ประจำเวลา หากไม่รู้โดยละเอียด ผิดพลาดไป ได้ไม่คุ้มเสีย

* ซินแสบางท่าน ก็จะแนะนำว่า หากจุดประจำทุกปี ก็สามารถจุดได้ ถือว่าต่อเนื่อง

* กลับมาที่ความเชื่อของบุคคลทั่วไป คือ ส่วนใหญ่เชื่อว่า เสียงประทัด เป็นเสียงสิริมงคล ยิ่งดังยิ่งดีทำให้ครอบครัวมีชื่อเสียง จึงต้องจุดประทัดตอนไปไหว้เช็งเม้ง

พอได้รับข้อมูลมากๆ เริ่มลำบากใจ หากคุณเป็นผู้อาวุโสในครอบครัว ย่อมไม่มีปัญหาในการตัดสินใจ และให้ผู้อื่นกระทำตาม แต่หากคุณเป็นผู้เยาว์ อากงให้ไปจุดประทัดแล้วคุณไม่ยอมไปจุดเพราะตามตำราไม่ได้บังคับ หรือเพราะกลัวผิดหลักฮวงจุ้ย ย่อมลำบากใจและอาจเกิดความแตกแยกในครอบครัว ซึ่งขัดกับ หัวใจ หรือ วัตถุประสงค์ของเทศกาลเช็งเม้ง

การประสานความเข้าใจนั้นสามารถมีได้หลายแนวทาง แนวทางเลือกทางหนึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องจุดประทัด และ สุสานไม่ได้หันหลังพิงทิศตะวันตก ( ทิศอสูร และ ทิศแตก ประจำปี 2550 ) ก็คือ คุณเลือกทิศที่ปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่คุณพอทราบได้

โดยเราทำตัวเลือกมาให้ 4 วัน เป็นวันเสาร์-อาทิตย์ คือ 24 มีนาคม 25 มีนาคม 31 มีนาคม และ 1 พฤษภาคม แสดงทิศปลอดภัยให้ในระดับวัน การวัดทิศ ให้ยึดถือจุด ป้ายสุสาน เป็นจุดหลัก แล้ววัดออกไปโดยรอบ 360 องศา

เสาร์ 24 มีนาคม 2550

?

[[Image:images/07-24.jpg|center|เสาร์ 24 มีนาคม 2550]]

อาทิตย์ 25 มีนาคม 2550


[[Image:images/07-25.jpg|center|อาทิตย์ 25 มีนาคม 2550]]

เสาร์ 31 มีนาคม 2550


[[Image:images/07-31.jpg|center|เสาร์ 31 มีนาคม 2550]]

อาทิตย์ 1 เมษายน 2550


[[Image:images/07-311.jpg|center|อาทิตย์ 1 เมษายน 2550]]

----

ส่วนท่านที่เจตนาจุดประทัดใช้วิชาในการ กระตุ้นโชคลาภ หรือ ทดสอบวิชา ขอแนะนำว่ากลับไปใช้วิชาที่บ้านจะดีกว่า เพราะสุสานเป็นของคนทั้งตระกูล

การไหว้บรรพบุรุษ เป็นคุณธรรมของการแสดงออกถึงความกตัญญู และความสามัคคีในครอบครัว ถึงแม้สิ่งต่างๆอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หรือ มีความแตกต่างในแง่ความคิด เช่น ขั้นตอน พิธีกรรม สิ่งของที่ใช้ในการไหว้ที่มีการปรับเปลี่ยนตามสภาพเศรษฐกิจ แต่หัวใจแห่งเช็งเม้ง คือ ความกตัญญู และ ความสามัคคีในครอบครัว สมควรดำรงไว้จากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันไป ... สิ่งต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่อย่าละทิ้งหัวใจ

ความหมาย

คำว่า เช็งเม้ง ( เชงเม้ง เช้งเม้ง ) เป็นคำเรียกในภาษาจีนแต้จิ๋ว และ ชิงหมิง เป็นคำเรียกในภาษาจีนกลาง

?เช็ง เกิดจากการผสมอักษรจีน 2 คำ เข้าด้วยกัน คือ น้ำ + สีเขียว รวมกัน หมายถึง ความใสกระจ่าง

?เม้ง เกิดจากการผสมอักษรจีน 2 คำ เข้าด้วยกัน คือ พระจันทร์ + พระอาทิตย์ หมายถึง ความสว่าง

?? เช็งเม็ง รวมกันจึงกลายเป็น ความแจ่มกระจ่าง และเป็นชื่อเรียกของ สาร์ทหนึ่งใน 24 สาร์ทของจีน ( 1 ปี จะแบ่งเป็น 12 เดือน เดือนละ 2 สาร์ท รวม 24 สาร์ท ) ช่วงเวลาประมาณ วันที่ 5 เมษายน ถึง 19 เมษายน ของแต่ละปี ซึ่งบ่งบอกลักษณะอากาศในช่วงเวลานั้นว่ามีความสดใส แจ่มกระจ่าง

แต่ส่วนใหญ่จะนิยมการไปไหว้สุสานก่อนวันที่ 5 เมษายน คือ ในช่วงสาร์ท ชุนฮุน ? ? ความยินดีแห่งใบไม้ผลิ

ในปัจจุบัน วันที่ 6 เมษายนถือว่าเป็นที่ระลึกมหาจักรีราชวงศ์ หรือ วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชด้วย ซึ่งสอดคล้องกับเทสกาลเช็งเม้ง

ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงวันเทศกาลเช็งเม็งว่าได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 896 ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 หรือเมื่อประมาณเกือบ 1,700 ปีผ่านมา

Comments

This comment has been moved here.