ฮวงจุ้ยเชิงวิทยาศาสตร์

แนวคิดฮวงจุ้ย ดวงจีน โหราศาสตร์จีน ในด้านมุมมองเชิง อภิปรัชญา เมตาฟิสิกส์ ( metaphysic )และ เชิง วิทยาศาสตร์ ( scientific ) feng shui

อี้จิง ดีเอ็นเอ 3

ฮวงจุ้ย อี้จิง

ฉักลักษณ์ อี้จิง

เมื่อนำสูตรรหัสพันธุกรรม หรือ codon ทั้ง 64 สูตร มาเทียบกับอี้จิง จะพบว่าอี้จิง(??) มี 64 hexagram หรือ 64 รหัสเช่นกัน โดยเราอาจเรียก hexagram ว่า ฉักลักษณ์ หรือ ข่วย หรือ ก่วย ( หากเป็นฮวงจุ้ย คือ ฮวงจุ้ย 64 ข่วย )

1 ฉักลักษณ์ จะประกอบไปด้วยเส้น 6 เส้นวางเรียงจากล่างขึ้นบน โดยแต่ละเส้นอาจจะเป็นเส้นอิม(ขาด) หรือเส้นเอี้ยง (เส้นเต็ม) ก็ได้ 

แต่ละฉักลักษณ์จะมีความหมายหลัก และการตีความจากเส้นที่เปลี่ยนแปลง 6 เส้น ( 64 x 6 = 384 ความหมาย ) ตลอดจนความเกี่ยวเนื่องของฉักลักษณ์อันหนึ่งกับฉักลักษณ์อันอื่นๆ หากเขียนในรายละเอียดจะครอบคลุมพื้นที่การเขียนหลายร้อยหน้ากระดาษ

อี้จิง ดีเอ็นเอ 2

ฮวงจุ้ย อี้จิง

ปัจจุบันมีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ศึกษาโหราศาสตร์จีน ฮวงจุ้ย อี้จิง ได้ทำการค้นคว้า โดยนำ DNA มาเทียบกับศาสตร์โบราณของจีน คือ อี้จิง (I Ching??คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง) และพบว่าสามารถที่จะเทียบกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ง่าย เพราะพื้นฐานอี้จิงและฮวงจุ้ยสามารถนำมาถอดรหัสทางคณิตศาสตร์ได้ โดยเป็นระบบ binary คือ

• อิมแทนด้วยสัญญลักษณ์ เส้นขาดกลาง หรือ 0
• เอี้ยงแทนด้วยเส้นขีดเต็ม หรือ 1
• การเรียงรหัส 0 กับ 1 ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบ binary codeคอมพิวเตอร์

อื้จิง ดีเอ็นเอ ถอดรหัสพันธุกรรม

อี้จิง ดีเอ็นเอ

ประมาณสามปีก่อน ผมเคยเขียนชุดบทความเป็นอีบุคแจกฟรี ชื่อ อี้จิง ดีเอ็นเอ รหัส พันธุกรรม 64 ข่วย โดยนำหลักการของอภิปรัชญาจีน อี้จิง มาเทียบกับหลักการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ด้านพันธุกรรม ดีเอ็นเอ DNA  ... เดิมจะเขียนต่อ ภาค 2 episode 2 อธิบายในเชิงของ ฮวงจุ้ย 64 ข่วย เทียบกับ รหัสพันธุกรรม ดีเอ็นเอ DNA แต่ก็ยังไม่มีเวลาเขียนออกมาให้อ่านกัน ... ถึงจะผ่านมา 3 ปี แต่เนื้อหาของ อี้จิง ดีเอ็นเอ ก็ยังมีความทันสมัยไม่เสื่อมคลาย ผมจึงคิดว่าจะนำมาเขียนบทความให้ผู้ชมได้อ่านง่ายขึ้น ( ส่วน episode 2 ยังไม่มีเวลาเขียน แต่อาจอธิบายประกอบในช่วงการสอน ฮวงจุ้ย 64ข่วย ที่ G.M. Academy )

ฮวงจุ้ยเชิงวิทยาศาสตร์ VS วิทยาศาสตร์ทางฮวงจุ้ย

แนวคิดหรือมุมมองในแนวใหม่ ด้านวิทยาศาตร์กับฮวงจุ้ย ที่คนรักฮวงจุ้ยควรอ่านว่าจะช่วยพัฒนาฮวงจุ้ยไปอย่างไร ไม่ให้ฮวงจุ้ยกลายเป็นวิทยาศาสตร์ปลอม ( Pseudoscience )

บทความนี้เราจะครอบคลุมหัวข้อ 

  • ธรรมชาติ ฮวงจุ้ย วิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ปลอม
  • ฮวงจุ้ยเชิงวิทยาศาสตร์ ( scientific fengshui ) และ วิทยาศาสตร์ทางฮวงจุ้ย แตกต่างกันอย่างไร
  • ตัวอย่างการทดลองทางวิทยาศาสตร์และสมมุติฐาน ที่เกี่ยวเนื่องกับการอธิบายหลักของฮวงจุ้ย
  • ลักษณะเฉพาะตัวของวิชาวิทยาศาสตร์
  • ฮวงจุ้ยแท้ ธรรมชาติ ความลึกลับ ความงมงาย

เราจะเริ่มต้นจากสิ่งที่มีขอบเขตใหญ่และเจาะลงส่วนย่อยลงไปเรื่อยๆ สิ่งที่ใหญ่ที่สุด ผมขอเรียกว่า อภิธรรมชาติ คือ ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ รวมสรรพสิ่งทั้งที่มนุษย์สัมผัสได้และสัมผัสไม่ได้เข้าไว้ด้วยกัน สิ่งที่มนุษย์สัมผัสได้เรามักเรียกว่าธรรมชาติ  และสิ่งที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้เรามักเรียกว่า สิ่งเหนือธรรมชาติ 

สิ่งที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้มีมากมาย เนื่องจากขีดจำกัดด้านการรับรู้ของมนุษย์เอง แต่ไม่ใช่ว่าสิ่งนั้นจะไม่มี เช่น คลื่นเสียงที่สัตว์ได้ยินแต่มนุษย์รับฟังไม่ได้ ตลอดจนเรื่องของจิต วิญญาณซึ่งเป็นคลื่นพลังงานที่มนุษย์ทั่วไปสัมผัสไม่ได้ ... ความจริงแล้วสิ่งเหนือธรรมชาติก็เป็นเรื่องที่มีอยู่ตามปกติทั่วไปแต่มนุษย์สัมผัสไม่ได้เท่านั้น

ตั้งแต่โลกเริ่มมีมนุษย์ มนุษย์เริ่มศึกษาความเป็นไปของธรรมชาติ เพื่อจะปรับตนเองให้สอดคล้องหรือใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของศาสตร์ต่างๆมากมาย รวมถึง ฮวงจุ้ย และวิทยาศาสตร์ ทั้งคู่ก็คือศาสตร์ที่พยายามศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดของธรรมชาติต่างๆ ฮวงจุ้ยจึงเป็นเรื่องของการศึกษาธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ก็เป็นเรื่องของการศึกษาธรรมชาติเช่นเดียวกัน

หากแบ่งโลกออกเป็นซีกตะวันออก และตะวันตก

  • ด้านตะวันออกจะเน้นหนักไปด้านปรัชญาและจิตใจ+จิตวิญญาณ ซึ่งฮวงจุ้ยกำเนิดในฝั่งโลกตะวันออก
  • ส่วนด้านตะวันตกจะเน้นหนักไปด้านวัตถุ ซึ่งวิทยาศาสตร์กำเนิดในโลกฝั่งตะวันตก

ทั้งฝ่ายตะวันออกและตะวันตกล้วนต่างพยายามศึกษาธรรมชาติด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยวิธีศึกษาที่คล้ายกันได้แก่ การเก็บข้อมูล การตั้งสมมุติฐานคาดการณ์ การทดลอง สรุปผล สุดท้ายได้ทฤษฎีหรือวิชาการของตนเอง คำว่า "วิชาการของตนเอง" ระบุเด่นชัดว่า แต่ละฝ่ายมีเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตนของตนเอง ฮวงจุ้ยก็คือฮวงจุ้ย วิทยาศาสตร์ก็คือวิทยาศาสตร์ แต่ด้วยเป็นวิชาที่ต่างศึกษาธรรมชาติอันเดียวกันจึงมีบางส่วนที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้

ที่กล่าวมาคือหน้าแรกของบทความ บทความนี้มีทั้งหมด 12 หน้า ซึ่งการนำขึ้นเว็บในรูปแบบ pdf ไฟล์จะสะดวกทั้งผู้อ่านและผู้เขียน คุณสามารถอ่านส่วนที่เหลือ 11 หน้า ได้จากไฟล์แนบที่ท้ายบทความนี้ 

ดาวน์โหลด: 

Pages