ฮวงจุ้ยหมวกดำ เต๋าหมวกดำ

ฮวงจุ้ยเต๋าหมวกดำ

การจัดลำดับและที่มา

สำนักฮวงจุ้ยหมวกดำ หรือเต๋าหมวกดำ หากพิจารณาจากหลักการของวิชา สามารถจัดให้อยู่ในระดับเดียวกับ ฮวงจุ้ยแปดเป้าหมาย

ฮวงจุ้ยหมวกดำ หรือ ฮวงจุ้ยเต๋าหมวกดำ ประกอบจากสองส่วน คือ ส่วนของนักบวชทิเบตและส่วนของฮวงจุ้ยผสมผสานเข้าด้วยกัน สำนักนี้เข้าสู่ประเทศไต้หวันโดยคนชื่อ หลินหยุน Lin Yun เป็นคนนำเข้าไป มีการกล่าวว่า สำนักนี้แบ่งฮวงจุ้ยออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่มีหลักการคิด (ทฤษฎี) และส่วนนอกเหนือหลักการแห่งความคิด (จิต)

หลักวิชาการ หรือ ทฤษฎี

ในส่วนที่ใช้หลักการคิดนั้น คาดว่ามีการดัดแปลงมาจาก วิชาสำนักแปดทิศ แต่มีสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันคือ สำนักหมวกดำไม่ใช้เข็มทิศ เขากล่าวว่า เขาใช้ใจเขาเป็นเข็มทิศ

ประตู

ประตูหน้ามักถูกกำหนดให้เป็น ช่วงอายุเกี่ยวกับอาชีพ โดยไม่สนใจว่าบ้านนั้นจะหันไปทางทิศไหน ซึ่งเป็นความฉลาดของสำนักนี้ที่แก้ปัญหาการหาทิศหน้าบ้านว่าจะกำหนดอย่างไรที่เรียกว่าทิศหน้าบ้าน

ข่วยหรือกั้ว

ในสำนักนี้ใช้ ปากั้ว หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปคือ โป๊ยข่วย มาประกอบการใช้งานแต่สอนการใช้ตรงข้ามกับที่มีการใช้แบบสากล เช่น สิ่งที่อยู่ด้านหน้าคือการมองเห็นและความสว่าง (ไฟ รหัสข่วย101 เอี้ยงอิมเอี้ยง) ขณะที่ด้านหลังคือสิ่งซ่อนเร้น (น้ำ รหัสข่วย 010 อิมเอี้ยงอิม) แต่ในสำนักหมวกดำสอนว่า ด้านหน้าคือ ช่วงของอาชีพซึ่งแทนด้วย ข่วยน้ำ010 ด้านหลังถูกแทนด้วย ไฟ รหัสข่วย 101 จึงเป็นหลักการที่ตรงข้ามกับสากล

จริงๆแล้ว ค่อนข้างมีเหตุผลที่กล่าวว่า ประตูหน้าแทนอาชีพการงาน ในเมื่อใช้ข่วยน้ำ010 ซึ่งธาตุน้ำเป็นตัวแทนของความฉลาด ไม่มีใครปฎิเสธได้ว่า ความสำเร็จในหน้าที่การงานต้องใช้ความฉลาดเป็นองค์ประกอบ ในทางฮวงจุ้ยเองก็ถือว่า ประตูหลักเป็นส่วนสำคัญของบ้าน เป็นส่วนที่มีผลกับพลังหยางมากที่สุด

สำนักนี้ มีการอธิบาย ช่วงชีวิตทั้งแปดอย่างเทียบกับปากั้ว อย่างคร่าวๆคล้ายกับสำนักที่ใช้เป้าหมายของชีวิตหรือ ฮวงจุ้ยแปดเป้าหมาย เช่นกัน แต่มีการอธิบายที่ดีกว่าสำนักที่กล่าวมา

สำนักนี้กล่าวว่า ฮวงจุ้ยส่วนอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ นั้นมีผลมากกว่าฮวงจุ้ยด้านเหตุผล โดยปกติหลักการแบบเหตุผลกล่าวว่า เราไม่สามารถเปลี่ยนชีวิตคนในข้ามคืนได้ แต่สำหรับสำนักนี้กล่าวว่า ถ้าคุณเชื่อแล้วละก็ชีวิตคุณจะเปลี่ยนไปในข้ามคืนโดยฮวงจุ้ยด้านอิทธิฤทธิ์ ฮวงจุ้ยสำนักนี้ใช้พื้นฐานของความเชื่อเป็นอย่างมาก สิ่งต่างๆล้วนแล้วแต่ใช้ความเชื่อเป็นหลัก